วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

7. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลกจึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
 1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย 

               2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต (Telnet)
เป็นบริการอินเตอร์เน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้านเรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง 

                3.การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol
หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือรูปภาพและเสียง

                4.การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบเป็นเมนูทำให้เราหาข้อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น 

                5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet)
เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenetมากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง 

                6.การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat)
เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกันซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่งการสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 

               7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce)
เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือคอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุนไม่มากนัก 

               8.การให้ความบันเทิง(Entertain)
ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น

โทษของอินเตอร์เน็ต
1.โรคติดอินเตอร์เน็ต (Webaholic) อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือการเล่นอินเตอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนันการติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเตอร์เน็ตเพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเองโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
 • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
 • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
 • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
 • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
 • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
 • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
 • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
 • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
 • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้นถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าการติดเทคโนโลยีอย่าง เช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงวัยกลางคนและไม่มีงานทำ
2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเตอร์เน็ตแต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆเพื่อที่จะทำลายข้อมูลหรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาตมันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการและสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

แหล่งที่มา : http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=4691

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

6. ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
ในยุคของสังคมแห่งข่าวสารปัจจุบันการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเครือข่าวคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันได้ในปัจจุบันมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทุกทิศทั่วโลกผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของอินเตอร์เน็ตนับได้ว่าเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเตอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ ณ  จุดใดจุดหนึ่งก็ตามเพื่อทำการส่งข้อมูลและข่าวสารระหว่างกันได้การบริการข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมีหลาหลายรูปแบบและมีผู้สนใจเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นทุกวันมีเครือข่ายทั่วโลกที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประมาณ 50,000 เครือข่ายจำนวนผู้ใช้จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วในปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 100 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเราจึงกล่าวได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขว้างมีการขยายตัวสูงและมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่ายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะจงหากแต่มีประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต  ในปี พ.ศ.2512  ก่อนที่จะก่อตัวเป็นอินเตอร์เน็ตจนกระทั่งทุกวันนี้
                อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาจาก  อาร์พาเน็ต(ARP Anet) ซึ่งเป็นเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้การรับผิดชอบของอาร์พาเน็ต (Advanced Pesearch Projects Agency)ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ตและโดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นพลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตยยุคสงครามเย็นในทศวรรษของปี พ.ศ. 2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะสงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วนโดนเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ 



แหล่งที่มา : http://www.comsimple.com

Internet คืออะไร

                                                      5.  Internet คืออะไร     อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมไปทั่วโลกแตกต่างกับ Intranet ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ไม่ครอบคลุมทั่วโลกอินเทอร์เน็ตนั้นอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคม เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบอินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อย เป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีอินเตอร์เน็ตถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลกดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลกทุกสาขาวิชา ทุกด้านทั้งบันเทิงและวิชาการตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ ประโยชน์ของ อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆได้ในเวลาอันรวดเร็วไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูลซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียวหรืออาจมีภาพประกอบรวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดียและใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
แหล่งที่มา : http://www.mindphp.com

เทคโนโลยีสารสนเทศ

4. เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)โดยมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี






3. สารสนเทศ

3. สารสนเทศ
สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้างแลหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมายปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศและการประมวลผลสารสนเทศสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้างนอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูลสารสนเทศในความหมายของข้อความสารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้นสารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน

แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8

การเขียนจดหมายธุรกิจ

การเขียนจดหมายธุรกิจ


แนวคิด

1.             จดหมายธุรกิจมีหลายลักษณะ หลายประเภท ตามโอกาสที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.             การศึกษาเรื่องจดหมายธุรกิจช่วยให้สามารถร่างจดหมายติดต่องานต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการเขียน ตลอดจนสำนวนภาษา ข้อความที่โต้ตอบอันจะนำมาซึ่งค่านิยมที่ดีและความสำเร็จในการงาน

วัตถุประสงค์

1.             บอกความสำคัญของการใช้จดหมายในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจได้

2.             บอกประเภทของจดหมายที่ใช้โต้ตอบทางธุรกิจได้
3.             ใช่คำ  ประโยค  และระดับของภาษาในการเขียนจดหมายธุรกิจได้ถูกต้อง
4.             เรียงลำดับข้อความ หรือเนื้อหาสาระของจดหมายธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

เนื้อหาโดยสังเขป

                การเขียนจดหมายเป็นการส่งสารที่นิยมที่นิยมใช้กันมากทั้งในเรื่องส่วนตัว  เรื่องกิจธุระ  หรือเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ  เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก ประหยัด และเป็นหลักฐานในการติดต่อเมื่อเกิดมีปัญหาขึ้น  ดังนั้น  การเขียนจดหมายควรจะระมัดระวังเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาให้ถูกต้อง
ชัดเจน  เพื่อให้การประกอบกิจธุระหรือการทำงานของตนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและประสบผลสำเร็จ

หลักทั่วไปในการเขียนจดหมาย

                การเขียนจดหมายโดยทั่วไป  ผู้เขียนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.             เขียนให้ถูกแบบของจดหมายแต่ละประเภท
2.             ใช้คำขึ้นต้นให้เหมาะสมแก่ผู้รับตามฐานะหรือความสัมพันธ์กัน
3.             เขียนเนื้อหาให้ได้ใจความชัดเจน สมบูรณ์ และถูกต้องตามที่ต้องการ
4.             ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ถูกต้อง และสุภาพ
5.             เขียนด้วยลายมือที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ และอ่านได้ง่าย  ถ้าใช้พิมพ์ดีดก็ต้องรักษาความสะอาด  ไม่ให้มีรอยขูดขีดฆ่าหรือรอยลบ
6.             ใช้คำสรรพนาม และคำลงท้ายที่เหมาะสมแก่ฐานะของผู้รับ
7.             ใช้กระดาษเขียนจดหมายและซองที่มีสีอ่อนหรือสีสุภาพ  ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาด

การเขียนจดหมายนั้น  ขึ้นอยู่กับประเภทของจดหมายแต่ละประเภทด้วย ซึ่งโดยทั่วไป

สามารถแบ่งจดหมายออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
                1. จดหมายส่วนตัว  เป็นจดหมายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวโดยเฉพาะซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นผู้ที่รู้จักคุ้นเคยหรือสนิทสนมกันดี  เป็นการเขียนแบบไม่เป็นทางการ  เช่น
จดหมายไต่ถามทุกข์สุข  จดหมายแสดงความยินดี หรือเสียใจ เป็นต้น
2.             จดหมายกิจธุระ  เป็นจดหมายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องธุระการงานอันเป็นการติดต่อ
สื่อสารที่ไม่ได้เกี่ยวกับผลประโยชน์ในกำไรหรือขาดทุนทางด้านการค้าหรือธุรกิจ เช่น จดหมายเชิญวิทยากร  จดหมายขอเข้าชมสถานที่ เป็นต้น
3.             จดหมายธุรกิจ  เป็นจดหมายที่ติดต่อเกี่ยวกับเรื่องการค้าระหว่างบุคคล ร้านค้า บริษัท
ต่าง ๆ ที่เนื่องด้วยกำไรหรือขาดทุน  เช่น จดหมายสั่งซื้อสินค้า  จดหมายทวงหนี้  จดหมายสมัครงาน  เป็นต้น
4.             จดหมายราชการ หรือหนังสือราชการ  เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างหน่วยงาน
ของรัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวกับเรื่องราชการ เช่น หนังสือราชการภายนอก  หนังสือคำสั่ง  หนังสือข้อบังคับ  เป็นต้น
การเขียนจดหมายในที่นี้  จะฝึกการเขียนจดหมายทางธุรกิจ  อันได้แก่ จดหมายสมัคร
งาน  จดหมายขอเปิดเครดิต  จดหมายเสนอขายสินค้า  จดหมายสอบถาม  จดหมายสั่งซื้อสินค้า  จดหมายต่อว่า  และจดหมายทวงหนี้

                การเขียนจดหมายสมัครงาน

                จดหมายสมัครงานเป็นจดหมายสำหรับบุคคลที่จะก้าวไปสู่อาชีพที่ตนมีความถนัดและเหมาะสม  เพราะหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะประกาศรับสมัครบุคคลเข้าทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ  แม้ว่าหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะมีวิธีรับสมัครและสอบคัดเลือกเป็นระบบอยู่แล้ว  แต่ภาคเอกชนส่วนใหญ่จะให้เขียนจดหมายสมัครงานหรือไปสมัครด้วยตนเอง  ในการเขียนจดหมายสมัครงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องเรียกร้องความสนใจจากผู้รับสมัครให้มีความต้องการที่จะรับเข้าพิจารณาตามตำแหน่งหน้าที่ที่เปิดรับสมัครไว้  เพราะจดหมายสมัครงานก็เปรียบเสมือนการเสนอขายสินค้าซึ่งในที่นี้ก็คือความรู้ความสามารถของเรา  ดังนั้น  การเขียน
จดหมายสมัครงานจึงต้องเขียนให้ดีที่สุดโดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
                1. การเลือกใช้กระดาษและซองจดหมาย  ควรเลือกใช้กระดาษเขียนจดหมายและซองสีขาว  หรือถ้าเป็นสีก็เป็นสีอ่อน หรือสีสุภาพ  สะอาด  แต่ไม่ควรใช้กระดาษและซองของราชการ  หรือกระดาษและซองที่มีหัวกระดาษของบริษัทห้างร้าน หรือมีลวดลายต่าง ๆ
                2.  การพิมพ์หรือเขียนข้อความในจดหมาย ควรพิมพ์ข้อความในจดหมาย นอกจากจะระบุว่าให้เขียนด้วยลายมือ  ผู้สมัครก็ควรเขียนด้วยลายมือของตนเอง  ห้ามให้ผู้อื่นเขียนให้  เพราะผู้รับสมัครต้องการพิจารณาบางประการเกี่ยวกับลายมือของผู้สมัคร
                3.  การใช้สำนวนภาษา ควรใช้สำนวนภาษากึ่งทางการหรือภาษาเขียนที่ถูกต้อง  ชัดเจน ทั้งตัวสะกด การันต์ ไม่มีรอยขูดฆ่า ขีดลบ หรือมีร่องรอยแก้ไข เพราะจะทำให้ไม่น่าดูหรือส่อให้เห็นว่าผู้สมัครทำงานไม่เรียบร้อย
                4.  การเขียนข้อความในจดหมาย ควรเขียนให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม วกวน หรือร่ำพรรณนาความทุกข์ยากจนเกินเหตุและไม่กล่าวถึงปัญหาของตนทั้งปัญหาส่วนตัว  ด้านครอบครัว  และการทำงาน  เพราะเราจะกลายเป็นตัวปัญหาของหน่วยงานที่สมัครมากกว่าที่จะแก้ปัญหาของหน่วยงานนั้น
                ส่วนการเขียนข้อความในจดหมายสมัครงานนั้น  ควรแบ่งเป็นย่อหน้าให้ใจความใน
แต่ละย่อหน้ามีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งมีหลักในการเขียนดังนี้
1.             ย่อหน้าแรก  กล่าวถึงการทราบข่าวการรับสมัครงานว่าทราบจากแหล่งใด  มีความ
สนใจและความเหมาะสมสอดคล้องกับตำแหน่งที่ผู้รับสมัครต้องการ เช่น  ผมได้อ่านประกาศรับสมัครงานในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ  ฉบับวันที่ 12 กันยายน  2546  ว่าบริษัทของท่านรับสมัครพนักงานตำแหน่งการเงินหลายตำแหน่ง  ผมสนใจใคร่ขอสมัครงานในตำแหน่งดังกล่าว
2.             ย่อหน้าที่สอง  ให้รายละเอียดข้อมูลส่วนตัวที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา  เช่น  ชื่อ
นามสกุล  อายุ  การศึกษา  โดยเน้นวิชาที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง  หน้าที่  ความสามารถพิเศษ  ประสบการณ์  หรือกิจกรรมที่เคยทำเกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัคร  เช่น  ผมมีอายุ 21 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะวิทยาการจัดการ  สาขาวิชาการบัญชี  จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เมื่อปีการศึกษา 2545 และได้เข้าทำงานทันทีโดยเป็นพนักงานบัญชี ของบริษัทไมตรีจิต จำกัด  ปัจจุบันก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่  แต่ที่ต้องการจะเปลี่ยนงานใหม่ก็เพื่อประสบการณ์ในการทำบัญชีที่แตกต่างออกไป และเพื่อความก้าวหน้าและการมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งในระดับสูงขึ้นด้วย
3.             ย่อหน้าที่สาม  อ้างถึงผู้รับรองหรือบุคคลที่จะให้รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับตนเอง
ได้  เช่น  อาจารย์ที่เคยสอน  หัวหน้าที่ทำงานเดิม  เป็นต้น  โดยผู้สมัครต้องขออนุญาตผู้รับรองก่อน  ตัวอย่าง  บุคคลที่ท่านสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับนิสัยส่วนตัว และการปฏิบัติงานของผมได้จากบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
                                1.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช   วงศ์ภินันท์วัฒนา   ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทร. 0-1717-4419
2.             อาจารย์วาลี  ขันธุวาร  ภาควิชาภาษาไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคม
ศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โทร. 0-4324-6887”
                4.  ย่อหน้าสุดท้าย  กล่าวถึงความมั่นใจว่าจะได้รับการพิจารณา เช่น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จดหมายสมัครงานของผมคงได้รับการพิจารณาด้วยดี  ผมพร้อมที่จะมารับการสัมภาษณ์ หรือเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อใดก็ได้  ตามที่ท่านประสงค์
                นอกจากหลักเกณฑ์ข้างต้นดังกล่าวแล้ว  ผู้สมัครอาจให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้ถ้าหากผู้ประกาศประสงค์จะทราบรายละเอียดบางอย่างซึ่งผู้สมัครจะต้องเขียนให้ดีเพราะจดหมายสมัครงานเป็นเสมือนภาพสะท้อนทั้งด้านบุคลิกภาพ อุปนิสัยใจคอ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้สมัคร  การเขียนจึงต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอ  มีความกระจ่างชัด ตรงไปตรงมา  มีความสุภาพอ่อนน้อม และมีความถูกต้องด้านการใช้ภาษา  แต่ไม่ควรใช้คำพูดที่ยกตนข่มท่าน  ประจบสอพอ หรือให้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ที่สมัคร 

                การเขียนจดหมายธุรกิจ

                การเขียนจดหมายธุรกิจ  หมายถึง  การเขียนจดหมายติดต่อระหว่างบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ หรือบุคคลในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจทั่วไป  เช่น  การสั่งซื้อสินค้า  การสอบถามราคา  การขอเปิดเครดิต  เป็นต้น  การเขียนจดหมายธุรกิจประเภทนี้จึงต้องใช้ข้อความที่กระชับรัดกุม ได้ใจความสมบูรณ์  ตรงไปตรงมา  และสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้องตรงกัน
                จดหมายธุรกิจแบ่งได้เป็น 6 ชนิด คือ
1.             จดหมายขอเปิดเครดิต หรือ จดหมายขอเปิดบัญชีเงินเชื่อ และจดหมายตอบรับหรือปฏิเสธการให้เครดิต
2.             จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ
3.             จดหมายสอบถาม และตอบสอบถาม
4.             จดหมายสั่งซื้อสินค้า และตอบรับการสั่งซื้อ
5.             จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ
6.             จดหมายทวงหนี้หรือเตือนหนี้
การเขียนจดหมายธุรกิจนั้น  นอกจากจะต้องคำนึงถึงเนื้อหาในข้อความจดหมายที่เขียน
แล้ว  ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบจดหมายด้วย  เพราะเมื่อผู้อ่านเปิดจดหมายอ่านในครั้งแรกและเกิดความประทับใจในตัวจดหมายก็จะทำให้ธุรกิจของเราประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว  รูปแบบการเขียนจดหมายธุรกิจที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่
1.             แบบสี่เหลี่ยมเต็มรูป (Full-block style)  เป็นแบบที่เขียนให้ทุกบรรทัดชิดขอบซ้ายของกระดาษจดหมาย
2.             แบบสี่เหลี่ยม (Block style) เป็นแบบที่เขียนให้ทุกบรรทัดชิดขอบซ้ายของกระดาษ ยกเว้นวันเดือนปี คำลงท้าย ลายมือชื่อ อยู่กึ่งกลางกระดาษ
3.             แบบกึ่งสี่เหลี่ยม (Semi-block style)  เป็นแบบที่คล้ายกับแบบสี่เหลี่ยม  แต่ให้เนื้อหาหรือข้อความของจดหมายย่อหน้าเข้าไปประมาณ 1 นิ้ว

รูปแบบจดหมายดังกล่าวนั้น เป็นรูปแบบของจดหมายธุรกิจของต่างประเทศที่นิยมใช้กัน 

แต่ในทางปฏิบัติอาจจะมีการดัดแปลงให้เหมาะสมหรือความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ทำก็ได้  และการใช้รูปแบบของจดหมายตามรูปแบบของหนังสือราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.. 2526 ก็เป็นที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจเหมือนกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้น ๆ ว่าต้องการใช้รูปแบบของจดหมายแบบใด
                โดยทั่วไปจดหมายธุรกิจจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.             หัวจดหมาย  เป็นชื่อ-ที่อยู่ของบริษัท ห้างร้าน ซึ่งมักพิมพ์หัวจดหมายไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อสะดวกในการใช้โดยไม่ต้องเขียนที่อยู่อีก
2.             วันที่ เดือน ปี  เป็นการระบุวันเดือนปีที่เขียนจดหมาย ซึ่งนิยมเขียนดังนี้คือ
1  สิงหาคม  2546
3.             ชื่อและที่อยู่ผู้รับ เป็นการเขียนชื่อหรือนามบริษัท ห้างร้านพร้อมทั้งที่อยู่ หรืออาจระบุตำแหน่งหน้าที่ก็ได้
4.             คำขึ้นต้น  ใช้คำขึ้นต้นให้เหมาะสมแก่ฐานะและบุคคล ที่นิยมใช้ในทางธุรกิจ ได้แก่ เรียน  ถึง  หรือกล่าวขึ้นลอย ๆ ว่า ท่านผู้มีอุปการะคุณ
5.             คำลงท้าย  ใช้คำลงท้ายที่เหมาะสมแก่บุคคลและสอดคล้องกับการใช้คำขึ้นต้น ซึ่งโดยทั่วไปมักใช้ว่า ขอแสดงความนับถือ
6.             ลายมือชื่อ  เป็นการลงลายมือชื่อของผู้เขียนจดหมาย ซึ่งตามปกติจะมีการลงลายมือชื่อหวัด (ลายเซ็น) และวงเล็บชื่อสกุลตัวบรรจงข้างล่างลายเซ็นและตามด้วยตำแหน่งในบรรทัดถัดมาก็ได้
7.             อักษรย่อ  เป็นการใส่อักษรชื่อย่อของตนควบคู่กับชื่อย่อของคนพิมพ์ หรือใส่เฉพาะชื่อย่อของคนพิมพ์ก็ได้ เช่น ปน/วร  หรือ วร เป็นต้น
8.             สิ่งที่ส่งมาด้วย  เป็นเอกสารหรือสิ่งของแนบมากับจดหมายนั้น

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.             ให้นักศึกษาพิจารณาจดหมายธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่เคยได้รับ หรือพบเห็นว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างจากหลักการโดยทั่วไปอย่างไร
2.             ให้นักศึกษา search  ข้อมูลใน website ต่าง ๆ ว่ามีการนำเสนอจดหมายทาง webpage หรือไม่  ถ้ามีเป็นจดหมายประเภทใด  และมีวิธีในการนำเสนออย่างไร
3.             นักศึกษาคิดว่าการเขียนจดหมายทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จควรมีรูปแบบ  ลักษณะ  และการใช้ภาษาอย่างไร